วิวัฒนาการของสแกนเนอร์สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลประเภทที่ไม่สะดวกในการป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทางคีย์บอร์ดได้ เช่น ภาพโลโก้ วิวทิวทัศน์ ภาพถ่ายรูปคน สัตว์ ฯลฯ
ประเภทของสแกนเนอร์ สแกนเนอร์แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
- สแกนเนอร์มือถือ (Hand-Held Scanner)
มีขนาดเล็ก ราคาไม่แพงนัก เก็บภาพขนาดเล็ก ๆ ซึ่งไม่ต้องการความละเอียดมากนักได้ เช่น โลโก้ ลายเซ็น เป็นต้น - สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet-Feed Scanner)
เป็นสแกนเนอร์ที่ใหญ่กว่าสแกนเนอร์มือถือใช้หลักการดึงกระดาษขึ้นมาสแกนทีละแผ่นแต่มีข้อจำกัดคือ ถ้าต้องการ สแกนภาพจากหนังสือที่เป็นรูปเล่มต้องฉีกกระดาษออกมาทีละแผ่นทำให้ไม่สะดวกในการสแกน คุณภาพที่ได้จาก สแกนเนอร์ประเภทนี้อยู่ในระดับปานกลาง - สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)
เป็นสแกนเนอร์ที่มีกระจกใสไว้สำหรับวางภาพที่จะสแกน เหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร คุณภาพของงานสแกนประเภทนี้ จะดีกว่า สแกนเนอร์แบบมือถือ หรือสแกนเนอร์แบบดึงกระดาษ การเลือกใช้สแกนเนอร์ มีข้อความพิจารณา ดังนี้
- ความละเอียดของงานสแกน ความละเอียดของภาพที่สแกนมีหน่วยวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dpi = dot per inches) สแกนเนอร์ที่มีคุณภาพดีสามารถสแกนได้ละเอียดมากถึง 1200 dpi โดยปกติการใช้สแกนเนอร์ธรรมดาจะใช้ความ ละเอียดเพียง 300 dpi ก็พอ ไม่จำเป็นต้องให้ความละเอียดมาก เพราะจะทำให้ใช้เวลาในการสแกนมาก
- การสแกนสี การสแกนเฉดเทา จะสแกนภาพออกมาเป็นสีเทา ปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้ว แต่นิยมใช้สแกนเนอร์สี ซึ่งเหมาะสำหรับการสแกนภาพถ่าย และภาพจากสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
Scanner Technology - LIDE SCANNERS สแกนเนอร์รุ่นพกพา ประสิทธิภาพเยี่ยม สแกนเนอร์ระบบ CIS (Contact Image Sensor) รุ่นใหม่ รูปทรงนำสมัย กะทัดรัด ง่ายต่อการติดตั้ง และเคลื่อนย้าย ด้วยประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด จาก LIDE Technology (LED InDirect Exposure) ที่สามารถสแกนได้จากต้นฉบับโดยตรง พร้อมsensor ในการสแกน ให้กว้างขึ้นภาพที่ได้ จึงมีความคมชัดเท่าต้นฉบับจริง โดยให้ความละเอียดในการสแกน 300 x 600 / 600 x 1200 /1200 x 2400 dpi โดยมีระดับความละเอียดในการสแกนให้เลือกตั้งแต่ 25 – 9600 dpi ในระดับสี 48 bit ประหยัดไฟสูงสุดเพียง 2.5วัตต์ และยังสามารถใช้งานได้ทั้ง PC, MAC และ PowerMacได้อีกด้วย ต้นคิดเครื่องถ่ายเอกสาร มีชื่อว่านาย เชสเตอร์ คาร์ลสัน ทนายความของบริษัทแห่งหนึ่งในนครนิวยอร์ก
ตอนนั้นปี 2479 (ตึกเวิลด์เทรดยังไม่แจ้งเกิดในนิวยอร์กซะด้วยซ้ำ) นายเชสเตอร์ ต้องตรวจเอกสารในบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง และรู้สึกว่าสำเนาเอกสารของสิ่งประดิษฐ์ในสิทธิบัตรนั้นมีไม่พอใช้งาน จะให้ไปพิมพ์ใหม่ก็ได้อยู่หรอก แต่เสียเวลามาก ที่ต้องพิมพ์และตรวจทานกันใหม่ หากจะไปใช้วิธีถ่ายภาพจากเอกสารยิ่งแพงไปกันใหญ่ นายคาร์ลสัน ซึ่งเป็นทนายความและนักประดิษฐ์สมัครเล่น จึงคิดหาทางทำเครื่องที่ถ่ายสำเนาเอกสารให้รวดเร็ว ว่าแล้วจึงไปหาข้อมูลที่ห้องสมุดประชาชนนิวยอร์กทุกวัน เน้นการศึกษาผลงานนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแสงกับไฟฟ้าสถิต อ่านไปอ่านมา ในที่สุดคาร์ลสันก็ไปเจอผลงานการค้นคว้าของนายพอล เซเลนยี นักฟิลิกส์ ชาวฮังกาเรียน ซึ่งพบว่า แสงจะเพิ่มสภาพการนำกระแสไฟฟ้าสถิตของวัตถุนั้นได้
คาร์ลสันจึงเริ่มค้นหาว่าวิธีนำความรู้นี้มาใช้ในกระบวนการสร้างภาพด้วยไฟฟ้าสถิต เริ่มด้วยการเช่าห้องทดลองในย่านแอสโตเรีย ของนิวยอร์ก และหาผู้ช่วยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ ออตโต คอร์นี มาทดลองกระบวนการสร้างภาพในห้องทดลองแห่งนี้ ในวันที่ 22 ตุลาคม 2481 คอร์นีเขียนคำว่า 10-22-38 แอสโตเรีย ลงบนแผ่นกระจกสำหรับกล้องจุลทรรศน์ จากนั้นก็เคลือบแผ่นสังกะสีด้วยผงกำมะถัน แล้วถูแรงๆ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสถิต จากนั้นก็ประกบแผ่นกระจกเข้ากับแผ่นสังกะสีเคลือบกำมะถัน และนำแผ่นทั้งสองไปวางใต้หลอดไฟฟ้าแบบขดลวดที่สว่างจ้า แล้วเผ่าผงที่เคลือบไว้ให้หลุดออกมาบางส่วน เหลืออยู่แต่คำว่า 10-22-38 แอสโตเรีย เหมือนต้นฉบับแทบจะไม่ผิดเพี้ยน
เป็นอันว่าเครื่องถ่ายเอกสารที่นายคาร์ลสันหมายมั่นไว้ก็ใกล้เป็นจริง แต่ในปี 2482 บริษัทกว่า 20 แห่งไม่ยอมซื้อสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของนายคาร์ลสัน แม้ว่าต่อมาคาร์ลสันจะได้รับความช่วยเหลือให้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพิ่มเติม แต่ก็กินเวลาอีกหลายปีกว่าเครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรกจะปรากฏโฉม ในปี 2502 เครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรกก็เปิดตัว ในชื่อว่าเครื่องถ่ายรุ่น 914 โดยใช้ระบบที่เรียกว่า xerography ซีโรกราฟฟี มาจากภาษากรีก แปลว่า แห้ง และ เขียน เพียงแค่กดปุ่ม ก็ถ่ายสำเนาลงบนกระดาษขาวได้อย่างง่ายดาย นวัตกรรมนี้ประสบความสำเร็จท่วมท้น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เครื่องถ่ายเอกสารซีร็อกซ์ ก็กระจายไปทั่วโลก และอยู่ในสถานที่ทำงานเกือบทุกแห่ง สแกนเนอร์ระบบ CCD (Charged Couple Device) รุ่นใหม่ที่นำเสนอ 2 เทคโนโลยีล่าสุดจากแคนนอนคือ VAROS Technology (Variable Refraction Optical System) ที่มีระบบการทำงานของ Glass Plate ที่ปรับเอียงช่วยในการอ่านข้อมูลในครั้งแรกให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์แบบที่สุด และ Galileo Lens ซึ่งเป็นชุดเลนส์ในหัวสแกนที่ประกอบด้วยเลนส์ประสิทธิภาพสูง 5 ชิ้น ช่วยเพิ่มความกว้างของช่องรับแสงเพื่อเพิ่มพื้นที่ตกกระทบของแสง กับ CCD ทำให้ได้ความเร็วในการสแกนภาพสูงสุด อีกทั้งยังสามารถสแกนภาพ 3มิติ และมีระบบการสแกนฟิล์ม (Film Adapter Unit) ที่ให้ความละเอียดสูงถึง 1200 dpi โดยมีระดับความละเอียดในการสแกนให้เลือกตั้งแต่ 25 – 9600 dpi ในระดับสี 48 ใช้งานได้ทั้ง PC, MAC และ PowerMac CCD ในการแปลงสัญญาณจาก Analog–> Digitalโดยภายในตัว CCD นั้นจะประกอบไปด้วย Light Sensing ของ Red Green Blue (RGB) รวมทั้งหมด 3 หลอดลักษณะจะเป็นแถบสี 3 แถบอยู่ภายใน CCD ใช้ในการอ่านค่าของแต่ละสี ในสมัยก่อนนั้น ในการสแกนภาพสี 1 บรรทัด จะทำการสแกนทั้งหมด 3 รอบ 3 สี แต่วิวัฒนาการของ Canon ได้ทำการพัฒนาขึ้นโดยจะทำการสแกนภาพสี,ขาว/ดำ,Grayscale เพียง 1 รอบ (ครบทั้ง 3 สี) เท่านั้น