เครื่องพ่นยา หรือ เครื่องพ่นสาร เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ฉีดพ่นของเหลวออกไปสู่เป้าหมาย ในทางเกษตรกรรม เครื่องพ่นยา เป็นอุปกรณ์ที่มีหัวฉีดใช้สำหรับการฉีดพ่นยากำจัดวัชพืช ยาฆ่าแมลง และสารเคมีเกษตรอื่น ๆ รวมทั้งปุ๋ยทางใบ ไปที่พื เครื่องพ่นยาทางเกษตรกรรม เครื่องพ่นยาที่ใช้ในทางเกษตรกรรมมีอยู่หลายชนิด โดยเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องพ่นยาแบบสูบโยกสะพายหลัง (knapsack sprayer) นอกจากนั้นยังมี เครื่องยนต์พ่นยาแบบสะพายหลัง (motorized knapsack sprayer หรือ mist blower), เครื่องพ่นยาแรงดันสูง (high pressure sprayer), เครื่องพ่นยาติดท้ายรถแทรคเตอร์ (air-blast), เครื่องพ่นยาแบบใช้น้ำน้อย (Low-Volume sprayer หรือ LV) ไปจนถึง เครื่องพ่นยาแบบไม่มีการผสมน้ำ (Ultra-Low-Volume sprayer หรือ ULV) เป็นต้น
การฉีดพ่นนั้นอัตราการใช้จะขึ้นกับสารเคมีเกษตรชนิดที่ใช้ฉีดพ่น คำแนะนำมักจะเป็นอัตราการผสมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยปริมาณการฉีดพ่นต่อไร่นั้นก็จะขึ้นกับชนิดของเครื่องพ่นยาด้วย ดังแสดงในตารางด้านล่าง ยากำจัดวัชพืช, สารกำจัดวัชพืช, หรือ ยาฆ่าหญ้า เป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ฆ่าพืชที่ไม่ต้องการ ยากำจัดวัชพืชใช้ในการจัดการพื้นที่รกร้างหรือควบคุมวัชพืชในการเกษตร ยากำจัดวัชพืชมีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ยาฆ่าหญ้ามีทั้งชนิดเลือกทำลายและไม่เลือกทำลาย ชนิดเลือกทำลายมีฤทธิฆ่าพืชเฉพาะชนิด เช่น 2,4-D ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าทำลายเฉพาะพืชใบกว้าง โดยอาศัยส่วนประกอบทางเคมีที่เป็นฮอร์โมนพืชสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อถูกดูดซึมจะไปรบกวนเฉพาะกระบวนการเติบโตของพืชใบกว้าง ชนิดไม่เลือกทำลายมีฤทธิฆ่าพืชทุกชนิด เช่น ไกลโฟเสต และ พาราคว็อท
สารกำจัดวัชพืช หมายถึง สารเคมีใดๆ ก็ตาม ที่นำมาใช้เพื่อฆ่าทำลลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่วัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือยังเป็นเมล็ดอยู่ ตลอดจนชิ้นส่วนต่างๆของวัชพืชทีขยายพันธุ์ได้ที่อยู่ในดินหรืออยู่บนดินการจำแนกประเภทของสารกำจัดวัชพืช ประเภทของสารกำจัดวัชพืชสามารถจัดแบ่งได้ตามหลายวิธีเช่น แบ่งตามการใช้งาน (เช่น ดูดซึมทางดิน หรือ ทางใบ) แบ่งตามลักษณะการเลือกทำลาย (เลือกทำลาย หรือ ไม่เลือกทำลาย) แบ่งตามลักษณะการได้รับพิษ (ประเภทสัมผัส หรือ ดูดซึม) แบ่งตามช่วงเวลาการใช้ (เช่น ประเภทก่อนปลูก, ประเภทก่อนงอก, ประเภทหลังงอก) หรือ อื่นๆ
วัชพืชที่ถูกยาฆ่าหญ้า
-สารกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตรของประเทศไทย
-พาราคว็อท (Paraquat) เป็นยากำจัดวัชพืชที่มีการใช้มากที่สุดในประเทศไทย ทำงานโดยหยุดยั้งการเติบโตของเซลวัชพืช และทำให้เนื้อเยื่อของเซลนั้นแห้งตายลง
-ไกลโฟเสต (Glyphosate) เป็นยากำจัดวัชพืชโดยวิธีฉีดพ่นและดูดซึมทางใบ, วิธีฉีดเข้าลำต้น หรือหยอดที่ยอด
-2,4-ดี (2,4-D) เป็นฮอร์โมนพืช (ออกซิน) สังเคราะห์ โดยถ้าใช้ในความเข้มข้นต่ำจะกระตุ้นการเจริญเติบโต ถ้าใช้ในความเข้มข้นสูงจะเป็นสารกำจัดวัชพืชใบกว้าง เพราะมีฤทธิ์ของความเป็นออกซินสูงมาก โดยวัชพืชใบกว้างซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงคู่จะไวต่อการตอบสนองต่อ 2,4-ดี มากกว่าพืชใบแคบซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
-บิวตาคลอร์ (Butachlor) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้ป้องกันวัชพืชก่อนที่วัชพืชจะงอก เพื่อป้องกันวัชพืช เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว กกขนาก หนวดปลาดุก กกทราย และ ขาเขียด
-โพรพานิล (Propanil) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืชพวกใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว
-ฟีโนซาพรอพ-พี-เอ็ทธิล (Fenoxaprop-p-ethyl) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืชประเภทหญ้า เช่น หญ้าดอกขาว หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าแด
-เพนดิเมทธอลิน (Pendimethalin) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืช เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าดอกขาว หญ้าแดง กกขนาก กกทราย หนวดปลาดุก ขาเขียด ผักปอดนา
-ไพราโซซัลฟูรอน-เอทิล (Pyrazosulfuron-ethyl) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืช เช่น กกขนาก หนวดปลาดุก ขาเขียด ผักปอดนา ผักแว่น
พาราคว็อท (อังกฤษ: Paraquat) เป็นชื่อการค้าของ N,N′-ไดเมทิลl-4,4′-ไบไพริดิเนียม ไดคลอไรด์ เป็นยากำจัดวัชพืชชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมที่สุดในโลก ถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1882 แต่ถูกนำมาใช้กำจัดวัชพืชครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1955 ผลิตจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 โดยบริษัท ไอซีไอ ปัจจุบันทำการตลาดโดยบริษัท ซินเจนทา พาราคว็อทเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ จากปฏิกิริยารีด็อกส์ ที่ทำให้เกิดซูเปอร์ออกไซด์ พาราคว็อทมีความสัมพันธ์กับโรคพาร์กินสัน และถูกแบนในหลายประเทศ
ในประเทศไทย พาราคว็อทเป็นที่รู้จักในชื่อการค้า กรัมม็อกโซน (Grammoxone) เป็นยาฆ่าวัชพืชที่นิยมใช้ที่สุดในประเทศไทย พาราคว็อทออกฤทธิ์โดยหยุดยั้งการเติบโตของเซลวัชพืช เฉพาะส่วนที่เป็นสีเขียว และทำให้เนื้อเยื่อของเซลนั้นแห้งลง โดยไม่แพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อไม้ สามารถใช้ได้กับพืชผลหลายชนิด ทั้งไม้ต้นสูงและพืชพันธุ์เตี้ย ในทางพิษวิทยา พาราคว็อทจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อที่สัมผัส ผิวหนังเป็นแผลพุพอง หากสัมผัสกับตาจะทำให้ตาบวมแดงอักเสบ ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง หากบริโภคจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองลำคอ ปอด และหายใจไม่ออก และส่งผลต่อสภาวะการทำงานของตับ ในประเทศโลกที่สาม นิยมใช้พาราคว็อทเป็นยาพิษสำหรับการฆ่าตัวตาย เนื่องจากเป็นสารพิษที่มีจำหน่ายทั่วไป ราคาไม่แพง และไม่จำเป็นต้องใช้ในปริมาณมาก